ขายดีจนเจ๊ง

4 สาเหตุ ขายดีจนเต้นเหตุที่อาจทำให้ธุรกิจปิดตัวลง

ขายดีจนเจ๊ง ต้นเหตุที่เจ้าของธุรกิจหลาย ๆ คนมักจะมองข้าม โดยเฉพาะกับธุรกิจที่กำลังเริ่มต้น มือใหม่ที่หัดทำธุรกิจ แม้จะมองว่าธุรกิจยังมีออเดอร์เยอะทุกวัน มีลูกค้าอย่างต่อเนื่อง แต่หากไม่มีการวางแผนธุรกิจ บอกเลยว่าเสี่ยงต่อการขาดทุน จนอาจปิดกิจการได้ 

แล้วทำไมขายดีถึงยังเจ๊ง ข้อกังวลที่เกิดขึ้นกับธุรกิจที่มียอดขายต่อเนื่อง และสาเหตุหลัก ๆ ของธุรกิจที่ขายดีแต่เจ๊งก็มักจะมีสาเหตุที่คล้ายกันทั้งสิ้นจึงทำให้ธุรกิจดำเนินกิจการต่อไปไม่ได้และเจ๊งในที่สุด เป็นเพราะว่ามองคุณข้าม 4 สาเหตุหลักนี้หรือเปล่า 

ขายดีจนเจ๊ง

4 สาเหตุหลักที่ทำให้ ขายดีจนเจ๊ง 

  1. ไม่คิดคำนวณต้นทุนที่แท้จริง

ทำธุรกิจไม่ว่าจะเป็นประเภทขายสินค้าหรือบริการ การไม่คำนวณต้นทุนคือสิ่งที่ผิดพลาดอย่างยิ่ง เพราะต้นทุนคือปัจจัยสำคัญที่มีผลกระทบโดยตรงต่อธุรกิจนั่นเอง ต้นทุนคือเงินที่ทางธุรกิจเป็นคนลงทุนไปก่อนล่วงหน้า ไม่ว่าจะเป็น ค่าวัตถุดิบ ค่าอุปกรณ์ ค่าเช่าร้าน ค่าพนักงาน ค่าตกแต่งร้าน และอื่น ๆ ล้วนแล้วแต่เป็นต้นทุนทั้งสิ้น แม้ว่าบางอย่างอาจจะไม่สามารถมาคำนวณกำไรได้ หรือต้องใช้เวลาคืนทุนในระยะยาว แต่ก็คือต้นทุนที่ธุรกิจต้องจ่ายนั่นเอง 

แต่สิ่งที่ควรทำอย่างสม่ำเสมอ คือการคิดคำนวณต้นทุนของสินค้าภายในร้าน อย่างเช่น การเปิดร้านขายเบเกอรี่ ก็ต้องมีการคำนวณต้นทุนของแต่ละเมนูสินค้าในร้านแต่ละชิ้น  การเปิดร้านขายชากาแฟต้องมีการคิดต้นทุนต่อแก้วเพื่อให้ทราบต้นทุนที่แท้จริงก่อนนำไปตั้งราคาขายเพื่อกำหนดกำไรที่ต้องการได้อย่างเหมาะสม การไม่คำนวณต้นทุนคือหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ร้านขาดทุนได้นั่นเอง  

  1. ไม่ทำรายรับรายจ่าย

นอกจากการไม่คำนวณต้นทุนของรายการสินค้าแล้ว การไม่ทำรายรับรายจ่ายก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง เพราะจะทำให้ไม่สามารถรับรู้ว่ามีต้นทุนที่ต้องจ่ายไปเท่าไหร่ รวมถึงกำไรที่ได้จริง ๆ จากการหักลบต้นทุนทั้งสิ้นแล้วต้องได้กี่บาท ทั้งนี้การไม่ทำรายรับรายจ่ายก็อาจเสี่ยงต่อการทุจริตของพนักงานในร้านได้อีกด้วย

สำหรับการทำบันทึกรายรับ-รายจ่ายนี้ แม้จะดูยุ่งยากแต่ก็เป็นสิ่งที่ทุกธุรกิจต้องทำ หากเจ้าของธุรกิจไหนที่ไม่ต้องการมานั่งจดบันทึกรายรับรายจ่ายเอง หรือต้องคอยบอกให้พนักงานจด ในปัจจุบันนี้ก็มีแอปพลิเคชั่นในการช่วยจัดการหน้าร้านอยู่แล้ว อย่างระบบ POS ระบบคิดเงินหน้าร้าน ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีในการช่วยลดภาระในส่วนนี้ได้ แถมยังช่วยบันทึกข้อมูลการขายต่าง ๆ ได้อัตโนมัติ

ขายดีจนเจ๊ง
  1. ไม่มีการจัดการสต็อก

การไม่จัดการสต็อกวัตถุดิบ จัดการสต็อกสินค้า คืออีกหนึ่งต้นทุนที่คุณอาจมองไม่เห็น เพราะสต็อกสินค้าหรือวัตถุดิบที่อยู่ภายใต้ธุรกิจคือสิ่งที่คุณต้องบริหารจัดการ โดยการจัดการสต็อกนี้คุณสามารถทำได้แค่หมั่นตรวจสอบรายการสินค้าขายดี รายการสินค้าที่ขายได้น้อย แม้แต่ช่วงเวลาที่ขายดีก็มีส่วนสำคัญ เพื่อที่จะได้บริหารสต็อกสินค้าขายดีเอาไว้ และหาวิธีกระจายสินค้าที่ขายได้น้อยออกให้หมดเพื่อไม่ให้คงค้างในคลังเยอะเกินไป การมีสินค้าในคลังที่ไม่ได้ช่วยสร้างรายได้หรือมีในสต็อกเฉย ๆ นั่นนับว่าเป็น “ต้นทุนจม” ที่ธุรกิจได้จ่ายเงินลงทุนไปแล้ว 

หรือหากคุณทำธุรกิจร้านอาหาร ร้านเครื่องดื่ม การมีวัตถุดิบบางชนิดที่ซื้อมาแล้วแทบไม่ได้ใช้ ก็สามารถนำวัตถุดิบดังกล่าวนั้นมารังสรรค์เมนูใหม่ ๆ กับวัตถุดิบที่มีอยู่แล้ว และทำโปรโมชั่นลดราคา เพื่อจะได้ไม่ต้องให้วัตถุดิบเน่าเสีย หรือสูญเสียเงินไปโดยเปล่าประโยชน์ 

  1. ไม่แยกเงินส่วนตัวกับร้าน

การทำธุรกิจคือการต้องแยกเงินส่วนตัวกับเงินของธุรกิจออกจากกัน เพราะธุรกิจต้องมีเงินหมุนเวียนอยู่ตลอดเวลา ต้องมีการจัดสรรเงินเป็นสัดส่วนเพื่อรองรับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ แม้แต่เงินฉุกเฉินที่ธุรกิจที่ต้องเตรียมไว้เผื่อมีเหตุการณ์ไม่คาดคิดเกิดขึ้น หากเจ้าของธุรกิจไม่แบ่งแยกบัญชี ชอบยืมเงินของร้านไปใช้จ่ายส่วนตัวและไม่นำมาคืน ก็จะทำให้การเงินของร้านมีปัญหา เสี่ยงต่อการทำบัญชีที่ผิดพลาด รวมถึงไม่มีเงินสำรองในการใช้จ่ายค่าดำเนินการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ

เมื่อเริ่มต้นทำธุรกิจการนำเงินส่วนตัวกับเงินธุรกิจไปใช้ร่วมกัน นับว่าเป็นข้อที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง เพราะการทำธุรกิจจะต้องมีการวางแผนงบประมาณในการลงทุน และจะต้องมีการแบ่งเงินสำรองไว้เพื่อเป็นเงินฉุกเฉินนั่นเอง เงินส่วนนี้แม้จะไม่ได้นำมาใช้จ่ายเหมือนกับเงินส่วนอื่น ๆ ก็ไม่ได้หมายความว่าเจ้าของธุรกิจจะนำไปใช้ก่อนได้นั่นเอง  

กับ 4 สาเหตุข้างต้นนี้คุณได้มองข้ามมันหรือเปล่า ? แม้จะดูว่าเป็นเรื่องทั่วไปแต่จริง ๆ แล้วสาเหตุที่เรานำมาแชร์ให้กันในวันนี้นับว่าจะเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้หลากธุรกิจต้องปิดตัวลง ไม่ว่าจะเป็น การไม่คำนวณต้นทุนที่ทำให้ไม่รู้ต้นทุนของสินค้าที่แท้จริง ไม่ทำบันทึกรายรับรายจ่ายก็จะทำให้ไม่รับรู้รายงานยอดขายของร้านที่แม่นยำ เสี่ยงขาดทุนโดยไม่รู้ตัว ไม่รู้วิธีจัดการสต็อกสินค้า สินค้าหรือวัตถุดิบค้างในสต็อกเยอะเกินไป อาจทำให้เสียเงินลงทุนเฉย ๆ และสุดท้ายคือการไม่แยกเงินส่วนตัวกับเงินธุรกิจ เมื่อธุรกิจเสี่ยงขาดทุนก็จะทำให้ไม่มีเงินสำรอง และขาดทุนหนักยิ่งกว่าเดิม 

หากใครที่เป็นมือใหม่กำลังวางแผนอยากเริ่มต้นทำธุรกิจ หรือแม้แต่ใครที่เป็นเจ้าของธุรกิจอยู่แล้ว และกำลังมองข้าม 4 สาเหตุหลักที่เรานำมาแชร์กันนี้ บอกเลยว่ายังไม่สายเกินไป เพียงแค่คุณปรับเปลี่ยนวิธีการบริหารร้าน ไม่ มองข้ามสาเหตุข้างต้นก็จะช่วยให้คุณจัดการร้านได้ดียิ่งขึ้น และไม่เสี่ยงให้ร้านขาดทุน ไม่มีเจ๊งแน่นอน

Similar Posts